หากมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า การศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างสติปัญญาให้มีความรู้ ความสามารถเป็นแนวทางในการเลี้ยงชีพที่สุจริต เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศชาติ เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศชาติ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน รัฐจึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการศึกษาของชาติ รวมถึงการพัฒนาองค์ประกอบต่างๆที่เป็นส่วนสนับการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาเป็นลำดับต้นๆ

กระแสของโลกในทุกแขนงมีวิวัฒนาการแปรเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา การศึกษาก็เช่นกันนับตั้งแต่ Education 2.0 (ปี 2000 – 2010) ที่ทุกกำหนดช่วงระยะเวลาพัฒนาการในทุกๆ 10 ปีได้ถูกกำหนดขึ้น (Education 1.0 ไม่ได้กำหนดไว้) และอีกไม่นานเราจะก้าวเข้าสู่ยุค Education 4.0 ในปี 2020 (พ.ศ.2563)

 

 

 

       ตลอดระยะเวลาก่อให้เกิดทฤษฎี แนวคิด หรือรูปแบบการศึกษา การเรียนรู้มากมาย แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เกือบทุกรูปแบบต่างก็ก้าวเข้าสู่เส้นทางดิจิตัล บนช่องทางออนไลน์แทบทั้งสิ้น และบนเส้นทางออนไลน์ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้หลากหลายแนวทาง ผ่านเทคโนโลยีต่างๆบนเส้นทางของ Mobile Device
 
 

     จากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ทางการสื่อสาร การพัฒนาโครงข่าย ส่งผลให้การเชื่อมโยง การติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงด้วยความรวดเร็ว

นับตั้งแต่ http://info.cern.ch เปิดตัวครั้งแรก เมื่อ 6 สิงหาคม 2534 โดย เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee) หรือที่รู้จักในนาม เซอร์ทิม ผู้คิดและพัฒนาระบบ เวิลด์ไวด์เว็บ (www) เป็นคนแรกของโลก

     การสร้างข้อมูลเว็บในระยะแรก ต้องใช้บุคคลที่มีความสามารถ ต้นทุนที่ค่อนข้างสูง กระทำโดยหน่วยงานของรัฐ สถานศึกษาและหน่วยงานองค์กรขนาดใหญ่ แต่ด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมา ผนวกรวมกับเทคโนโลยีของ Social media เกื้อหนุนให้การสร้างหน้าเว็บ ไม่ใช่เรื่องยาก ทำให้อัตราการเติบโตของเอกสารเว็บมีสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดธุรกิจผ่านข้อมูลหลากหลายประเภท ทั้งจริง บิดเบือนและปลอม การผลิตข้อมูลเท็จเพื่อสร้างความสนุก ความปั่นป่วนหรือมุ่งหมายทรัพย์ เป็นเรื่องที่ทั้งผู้ใช้งานเครือข่ายต้องประสบปัญหาเสมอมา ทั่วโลกต่างประสบปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อน ข้อมูลเท็จ ข้อมูลลวง ข้อมูลคลาดเคลื่อน หรือข้อมูลไม่ครบ ส่งผลให้การอ้างอิง การค้นหาข้อมูล หรือข่าวสาร ผ่านกลไกการค้นหาบนเว็บ เริ่มผิดเพี้ยน เนื่องในวาระครบรอบ 28 ปีของ www ที่ผ่านมา เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี ได้ส่งสารเรียกร้องว่า "สื่อสังคมออนไลน์และเสิร์ชเอ็นจิ้น ต้องสนับสนุนความพยายามต่อสู้(ข้อมูล)ข่าวลวง-ข่าวปลอมต่างๆ ด้วย"

     จากความร่วมมือของ Google Inc. แคลิฟอรืเนีย ได้มอบ Account จำนวน 3 ล้าน ให้กับสำนักงาน กศน. เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาทางไกลรับมอบหมายให้เป็นผู้บริหารจัดการในการใช้ประโยชน์และพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับสถานศึกษาเครือข่าย Account ทั้ง 3 ล้าน เป็นชุด G Suite for Education ภายใต้โดเมน @dei.ac.th ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงทุกผลิตภัณฑ์ ทุก Application สำหรับสนับสนุนงานการศึกษาที่เป็นของ Google ภายใน Account เดียว ผลการดำเนินการการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนออนไลน์ด้วย G Suite for Education ในระยะแรกพบว่า นอกจากจะเป็นชุดเครื่องมือในการบริหารจัดการชั้นเรียนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว G Suite for Education ยังสามารถนำมาสร้างสรรเครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายแหล่งเรียนรู้จากทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย (นำเรื่องราว นำสาระเนื้อหาที่หลากหลาย มีคุณค่าต่อการเรียนรู้) โดยคนของ กศน. ที่อยู่ในทุกพื้นที่ ทุกตำบล ให้มีความรู้ ส่งเสริมศักยภาพให้เป็นนักถ่ายทอดผู้สร้างสรรเส้นเรื่องราวจากพื้นที่นำไปสู่การสร้างสรรแหล่งเรียนรู้ และแหล่งข้อมูลคุณภาพ บนโลกออนไลน์ของประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว จึงดำเนินการออกแบบกระบวนการและระบบด้วย Application ต่างๆของ G Suite for Education โดยกำหนดกระบวนการไว้ 2 ขั้นตอน

 
 

(1)นำความรู้ ข้อมูลหรือหลักสูตรจากพื้นที่หรือชุมชน มาสร้างเป็นเว็บกระจายย่อยไปทุกหน่วยงาน สถานศึกษา (กศน.ตำบล) พัฒนาเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน ( Knowledge Network Sites)
(2)นำลิงค์ความรู้จาก Sites ไปรวม(จัด)กลุ่มในระบบช่องทางแหล่งข้อมูลเรียนรู้ TKP (Thailand Knowledge Portal) หรือศูนย์ความรู้ประชาชนประจำจังหวัด เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่และเข้าถึง

     โดยเริ่มดำเนินการทดลองรูปแบบที่สำนักงาน กศน.จังหวัดน่าน (เมื่อวันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ 2561) ภายใต้หลักการประสานความร่วมมือกับชุมชนนำข้อมูล ความรู้ที่เป็นจริง (เพื่อทดแทนข้อมูลหลอกลวง, ข้อมูลซ้ำซ้อน,ข้อมูลขาดไม่ครบ และข้อมูลคลาดเคลื่อน) พัฒนาเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน ( Knowledge Network Sites) ส่งผ่านไปสู่ระบบช่องทางแหล่งข้อมูลเรียนรู้ TKP (Thailand Knowledge Portal) หรือศูนย์ความรู้ประชาชนประจำจังหวัด ซึ่ง TKP (Thailand Knowledge Portal) ถูกออกแบบให้เป็นระบบเครือข่ายระดับประเทศที่มีแกนกลางเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันทั้ง 77 จังหวัด รวมถึงหน่วยงาน สถานศึกษารูปแบบพิเศษต่างๆ ของสำนักงาน กศน.

ปัจจุบันมีหน่วยงาน สถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน.ได้เข้าร่วมดำเนินการนำร่องและเข้าแผนในการพัฒนาแล้ว ดังนี้ (ข้อมูล ณ 29 พฤษภาคม 2561)
     1.สำนักงาน กศน.จังหวัดน่าน (เมื่อวันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ 2561)
      มีข้อมูลในระบบที่เผยแพร่แล้ว 200 รายการ
     2.กลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 20 แห่งทั่วประเทศ (เมื่อวันที่ 2-5 เมษายน 2561)
      มีข้อมูลในระบบที่เผยแพร่แล้ว 287 รายการ
     3.สำนักงาน กศน.จังหวัดร้อยเอ็ด (เมื่อวันที่ 21-25 พฤษภาคม 2561)
      มีข้อมูลในระบบที่เผยแพร่แล้ว 205 รายการ
     4.สถาบัน กศน.ภาคใต้ (ระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน 2561)
     5.สำนักงาน กศน.จังหวัดกาญจนบุรี (ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2561)
สรุป      TKP : Thailand Knowledge Portal คือศูนย์รวมช่องทางข้อมูล หลักสูตร และแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ โครงสร้างของ TKP ออกแบบมาเพื่อรองรับ/สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย

หลักการ
คน กศน. อยู่ในทุกชุมชน
     - ชุมชน มี องค์ความรู้
     - ความรู้ เป็นสิ่งล้ำค่า
     - เสริมความล้ำค่า โดยการเผยแพร่และแบ่งปัน
     - เผยแพร่และแบ่งปันคืองานสร้างสรรของ กศน.

 

ภายใต้เงื่อนไข
     1.พัฒนาคน ให้สามารถสร้าง Content บนมาตรฐานเดียวกัน
     2.ส่งเสริม สนับสนุนให้พัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
     3.แบ่งปัน(Share)องค์ความรู้
     4.เผยแพร่ องค์ความรู้ / จัดการเรียนรู้ *
     5.รวบรวม และบริหารจัดการองค์ความรู้ *
แผนพัฒนาขั้นต่อไปหลังจาก TKP มีความเข้มแข็ง นำไปสู่การพัฒนาคลังสื่อ คลังข้อมูลการเรียนรู้ที่มีความถูกต้อง

     อนาคตในอีกไม่นานโลกของสื่อข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจะเกิดขึ้น และสิ่งนี้จะเป็นอีกมิติใหม่ของแหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ ที่มีคุณค่าต่อสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สร้างสรรและผ่านการรับรองโดยสำนักงาน กศน.